วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Friday, october 19, 2018 
10nd record

➤The knowledge gained


อาจารย์มอบหมายงานโครงการ จับกลุ่ม ทำฐานวิทยาศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม กลุ่มของดิฉัน ทำฐานเกี่ยวกับน้ำ ชื่อฐาน น้ำนิ่งไหลลึก 




วัตถุประสงค์
1.บอกคุณสมบัติของน้ำ
2.บอกได้ว่าน้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต
3.ได้ลงมือทดลองร่วมกับครู
4.ได้รับความสนุกสนานปฎิสัมพันธ์กับเพื่อน
5.เด็กมีการสังเกตและคิดในสิ่งที่พบเห็น
6.เด็กได้เรียนรู้และสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
7.ได้คิดวิเคราะห์ในการทำการทดลอง
ข้อความรู้
 น้ำมีเป็นของเหลวชนิดหนึ่งที่มีอยู่มากบนโลก เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำลงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทุกชนิดที่มนุษย์รู้จัก เราสามารถพบน้ำได้หลายสถานที่เช่น ทะเล แม่น้ำ หนอง คลอง บึง 
ประเด็นที่อยากรู้
น้ำมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
สมมติฐาน
-ถ้าเทน้ำใส่ในแก้วจะเกิดอะไรขึ้น
-ถ้าเทน้ำใส่ในภาชนะต่างกันจะเกิดอะไรขึ้น
-ถ้าวางวัตถุลงบนผิวน้ำจะเกิดอะไรขึ้น
-ถ้านำผักผลไม้มาบีบจะเกิดอะไรขึ้น
สื่อ อุปกรณ์
1.น้ำ
2.แก้วทรงต่างๆ
3.สีผสมอาหาร
4.คลิปหนีบกระดาษ
5.น้ำยาล้างจาน
6.ผลไม้และผัก
ขั้นตอน
1.เทน้ำจากแก้วใบแลกใส่ใบที่2สลับไปมา
2.เทน้ำใส่ในภาชนะที่มีรูปร่างต่างกัน
3.เทน้ำเต็มแก้วจากนั้นวางคลิปหนีบกระดาษวางบนผิวน้ำ 
4.จากนั้นหยดน้ำยาล้างจานลงบนผิวน้ำ สังเกตการเปลี่ยนแปลง
5.จากนั้นนำผักผลไม้มาบีบ
สรุปผลการทดลอง
-เทน้ำสลับไปมา ที่น้ำไหลเพราะน้ำเป็นของเหลว
-น้ำเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะที่ใส่
-วางไว้ถุบนผิวน้ำที่ไม่จมเพราะน้ำมีแรงตึงผิว
-บีบผักผลไม้มีน้ำออกมาเพราะน้ำเป้นส่วนประกำอบของสิ่งมีชีวิต

ในการทำฐานการทดลองเรื่องนั้นๆ ต้องศึกษาลายละเอียดเป็นอย่างดี และอาจารย์คอยแนะนำในทุกๆเรื่องไม่ปล่อยผ่าน ทำให้เรารู้สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขได้ตรงจุด
➤Skills
การจัดฐานกิจกรรม หรือโครงการต่างๆ ใช้คำถามเพื่อให้เด็กเป็นคนตั้งสมมติฐานจากนั้นเข้าสู่การทดลองและใช้ภาษาอย่างง่ายที่เด็กจะเข้าใจเชื่อมโยงในชีวิตประจำวัน
➤Apply
นำองค์ความรู้ไปจัดกิจกรรมหรือฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในอนาคต
Assessment 
our selfตั้งใจเรียน และตอบคำถามได้
Friend : ช่วยกันตอบคำถาม
Teacher:แนะนำการใช้คำง่ายๆและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันใหเด็กเข้าใจมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Friday, october 12, 2018 9nd record
➤The knowledge gained
นางสาวณัฐธิดา  ธรรมแท้ ทดลองเรื่องมะนาวโซดาแสนอร่อย ส่วนผสมเบกิ้งโซดา/นำหวาน/ผงมะนาว/
 น้ำตาล/น้ำเปล่า/ นำส่วนผสมเหล่านี้มาทำน้ำมะนาว สรุป ผงมะนาวกับเบกิ้งโซดาทำให้เกิดฟองใส่น้ำหวานเกิดความหวานพอชิมรสชาติหวานเปรี้ยวและมีความซ่า
นางสาวอรอุมา ศรีท้วม ทดลองเรื่องปริมาณของน้ำ แก้วรูปทรงต่างกันใส่น้ำลงไปเท่ากันในแก้ว1และ2ใส่น้ำแก้วที่3เต็มแล้วเทจากแก้วใบที่3ใส่ใบที่4เกิดการล้น
 สรุปเกี่ยวกับแก้วน้ำที่มีขนาดต่างกันใส่น้ำไดไม่เท่ากัน

นางสาวปวีณา พันธ์กุล ทดลองการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ใส่เกลือ/ผงฟู/เบกิ้งโซดา/น้ำตาลทราย ลงไปในแก้วอย่างละใบ จากนั้นใส่น้ำมะนาวตามลงไปทีละแก้วทุกแก้ว สังเกตการเปลี่ยนแปลงเบกิ้งโซดาแลผงฟู เกิดฟองขึ้น สรุปน้ำตาลกับเกลือไม่เกิดอะไรขึ้นเพราน้ำแทรกเขาไปแทนที่ ส่วนผงฟู/เบกิ้งโซดาทำให้เกิดฟอง เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เพื่อนลองทำการทดลอง เพื่อที่จะได้ไม่ผิดพลาดในการนำไปสอนจริง เพราะอาจารย์จะแนะนำทุกจุดเสมอ ทำใหเพื่อนๆที่นั่งฟังคอยจดบันทึกและนำเสนอใหดีต่อๆไป
➤Skills
การใช้คำถามเชื่อมโยงความรู้เดิมทำให้เกิดความรู้ใหม่
➤Apply
นำไปใช้และพัฒนาในการสอน การใช้ภาษาแบบที่เดกจะเข้าใจง่ายๆ
Assessment 
our selfตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอกาทดลอง
Friend : ช่วยกันตอบคำถามได้
Teacher: แนะนำการใช้คำง่ายๆและเชื่อมโยงที่เด็กจเข้าใจได้ดี สอนสนุก

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Friday, october 5, 2018 
8nd record

➤The knowledge gained


เพื่อนๆนำการทดลองมาลองทดลองกับเพื่อนๆในชั้นเรียนและคอยมีอาจารย์ให้คำแนะนำ


นางสาวขนิษฐา สมานมิตร ทดลองเรื่องเอดิเคเตอร์จากพืช โดยการนำกรดต่างๆทั้งในน้ำมะนาว โซดา มาหยดใส่ในสีที่เกิดจากการคั้นสีจากธรรมชาติอย่างกระหล่ำปลีสีม่วง โดยการนำแก้ว3ใบ ใบแรกหยดน้ำมะนาวลงไปเกิดน้ำกระหล่ำปลีเปนสีแดง แก้วใบที่2หยดโซดา น้ำกระหล่ำปลีเป็นสีม่วง ส่วนใบที่3หยดน้ำเปล่าลงไปไม่เปลี่ยนสี 
สรุปผลการทดลอง
เนื่องจากกรดในน้ำมะนาวและโซดาทำปฏิกิริยากับสีที่เกิดจากการคั้นจากธรรมชาติทำให้เกิดสีต่างๆ ส่วนน้ำเปล่าเปนนำบริสุทธิ์จึงไม่เกิดสีใดๆ

นางสาววิภาพร จิตอาคะ ทดลองเรื่องจรวดกล่องฟิล์ม  ใช้น้ำมะดาว และเบกิ้งโซดา ใส่ไปกล่องฟิล์ม เกิดการดีดตัวของฟากล่องฟิล์มคล้ายจรวด 
สรุปการทดลอง
เมื่อก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ขยายตัวในที่แคบจเกิดแรงดันทำให้ฝากล่องฟิล์มพุ่งขึ้นเหมือนจรวด


นางสาว วสุธิดา คชชา ทดลองเรื่องการละลายของน้ำตาล นำสีผสมอาหารต่างสีหยดใส่น้ำตาล2ก้อน จากนั้นวางก้อนนำตาลที่หยดสีลงบนน้ำในจาน สังเกตการเปลี่ยนแปลง
สรุปการทดลอง 
การลลายของก้อนน้ำตาลเกิดจากในก้อนน้ำตาลมีอากาศ พอโดนน้ำ น้ำมาแทนที่อากาศในนั้นเมื่อน้ำตาลดูดน้ำข้าไปก็ละลายจนหมด



นางสาวกิ่งแก้ว ทนนำ ทดลองเรื่องแสงและภาพ นำกระดาษพลาสติกใสซึ่งโปร่งใส วาดภาพลงไป จะมองเห็นภาพที่วาดเป็นลวดลาย แม้ในกระดาษสีขาว และบนพืนที่ลองวาด แต่ถานำกรดาษแข็งสีดำรองไว้จะมองไม่เห็นภาพที่วาด แต่เมื่อนำสีขาวที่ทำกระบอกไฟฉายจากกระดาษสีขาวไปไว้ด้านหลังระหว่างกระดาษใสกับกระดาษสีดำภาพจะกลับมาชัดอีกครั้ง
สรุปผลการทดลอง
เนื่องจากสีดำดูดทุกสีและสะท้อนเข้าสู้ตาเราจึงมองไม่เห็นภาพ แต่ถ้าเป็นสีขาวไม่ดูดสีใดเลยจึงมองเห็นเป็นสีขาว


นางสาววิจิตรา ปาคำ ทดลองเรื่องความลับสีดำ นำปากกาเคมีกันน้ำ และไม่กันน้ำ มาวาดใส่กรดาษกรองแลหยดน้ำใส่ภาพทั้ง2 พบว่าภาพแรกที่ปากกาเคมีไม่กันน้ำ เกิดการกระจายของสีต่างๆพบทุกสี ส่วนปากกาเคมีที่กันน้ำไปเกิดอะไรขึ้น
สรุปผลการทดลอง
เนื่องจากสีดำเกิดจากการผสมสีของทุกสีรวมกัน ส่วนปากาเคมีที่กันน้ำไม่เกิดอะไรขึ้นเพราะมีสารบางอย่างเคลือบไว้จึงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
นางสาวอภิชญา โมคมูล ทดลองเรื่องแสงและเงา นำกล่องที่มืด นำลูกปิงปองวางไว้ในกล่องระยะไม่เท่ากันและส่องไฟฉายเข้าไป เกิดเงา ที่มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ 

➤Skills
ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ครูมีหน้าที่เตรียมและอำนวยความสะดวกเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยสภาพแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่ง
➤Apply
นำความรู้ไปเขียนขั้นตอนในการทดลองโยงลูกสอนใหชัดเจนและเมื่อทำการทดลองควรชี้ขั้นตอนการทดลองไปด้วย
➤Technique
อาจารย์แนะนำการใช้คำง่ายๆคำที่เด็กจะเข้าใจและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของเด็กจะเข้าใจได้ดี
การใช้คำถามอาศัยประสบการณ์เดิม นำเขาสู่การทดลอง เช่น
-เด็กๆเห็นอะไรบ้างคะ
-อุปกรณ์ที่เด็กๆเห็นพวกนี้เด็กๆคิดว่าสามารถนำมาทำอะไรได้บ้างคะ
การเรียนรู้ของเด็กนั้นเกิดขึ้นจากเพื่อน สภาพแวดล้อม ครู และวัฒนธรรมได้ ใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพราะฉะนั้นครูต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กและส่งเสริมพัฒนาการครบทุกด้านและสอดคล้องกับหลักสูตร
Assessment 
our selfตั้งใจเรียน เตรียมอุปกรณ์มาทดลองตามที่อาจารย์มอบหมาย และตอบคำถามได้
Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามได้
Teacher:สอนเข้าใจง่าย เชื่อมโยงเนื้อหาได้เห็นภาพมากขึ้น แนะนำการใช้คำง่ายๆและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันใหเด็กเข้าใจมากขึ้น


สรุป ตัวอย่างการสอน โดย  โรงเรียนโสมาภา (นวมินทร์) การทดลองต่อวงจรไฟฟ้า การนำถ่านไฟฉายมาเป็นแหล่งกำเนิดไฟ ให้เด็กต่อสายไฟให้ครบวงจร เสี...