วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สรุป ตัวอย่างการสอน

โดย โรงเรียนโสมาภา (นวมินทร์)
การทดลองต่อวงจรไฟฟ้า
การนำถ่านไฟฉายมาเป็นแหล่งกำเนิดไฟ ให้เด็กต่อสายไฟให้ครบวงจร เสียงขั้วบวกขั้วลบให้ ครูสรุปว่าไฟฟ้าไหลครบวงจรจึงทำให้ไฟติด 
การทดลองต่อมา เป็นการทดลองแรงตึงผิว โดยวางคลิปหนีบกระดาษบนผิวน้ำ
ที่คลิปหนีบกระดาษเพราะน้ำมีแรงตึงผิว
การทดลองงูเต้นระบำ นำกระดาษที่ตัดเป็นรูปวงกลมที่ร้อยด้วยด้วยด้าย นำไปจ่อบนเทียนจุดไฟที่มีจานลอง อากาศร้อนจะเคลื่อนที่ขึ้นไปข้างบน ปรากฏการณ์นี้สามารถแสดงให้เห็นโดยการให้เด็ก ๆ ทำงูกระดาษ แล้วนำไปแขวนเหนือเครื่องทำความร้อนหรือแหล่งกำเนิดความร้อนใด ๆ ก็ได้ จะพบว่างูเริ่มเต้นระบำ
การทดลอง น้ำ ทราย น้ำมัน
-เทน้ำลงในขวดแยมประมาณ ¾ ขวด ต่อจากนั ้นใส่ ทรายหรือกรวดลงไปและคนให้เข้ากัน
-เทน้ำมันพืชจากแก้วใบเล็กลงในขวดแยม และปิดฝาขวดให้แน่น 
-เขย่าขวดหลาย ๆ ครั้ง แล้วนำไปวางบนโต๊ะ เพื่อสังเกต การเปลี่ยนแปลง  
เกิดอะไรขึ้น ทรายหรือกรวดจะตกตะกอนอย่างรวดเร็ว นำมันพืช น้ำ และฟองอากาศซึ่งเกิดจากการเขย่าจะรวมตัวกัน แต่ หลังจากนั้นไม่กี่วินาที น้ำมันพืชและน้ำจะแยกตัวออกจาก กัน โดยน้ำมันพืชสีเหลืองจะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ
***ทรายหนักกว่าน้ำทำให้จมนำแต่น้ำมันเบากว่าน้ำ จึง ลอยอยู่บนผิวน้ำได้ แต่ของเหลวทั้งสองชนิดคือ น้ำและน้ำมันไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เพราะน้ำและน้ำมันมี โครงสร้างแตกต่างกัน จึงไม่สามารถรวมเป็นเเนื้อเดียวกันได้ เมื่อเขย่าขวดที่มีน้ำและน้ำมันอยู่ น้ำมันจะแตกตัวอยู่ ในรูปทรงกลมและพยายามอยู่ด้านบน เมื่อทิ้งไว้สักครู่น้ำมันที่ แตกตัวจะจับตัวกันเหมือนเดิม
วัตถุที่มีน ้าหนักมากและมีขนาดใหญ่มาก เช่น ถัง น้ำมัน จึงสามารถลอยน้ำได้ โดยจะลอยปริ่มน้ำได้เมื่อแรงพยุง ของน้ำมีขนาดเท่ากับน้ำหนักของถัง ในทางกลับกัน ก้อนหินที่ มีขนาดเล็กกว่ามากจะจมน้ำเพราะว่าน้ำหนักของหินมากกว่า แรงพยุงของน ้า (ความหนาแน่นของหินมากกว่าความ 
หนาแน่นของน้ำนั่นเอง)
เป็นการสอนวิทยาศาสตร์มีการทดลอง4ฐาน ซึ่งเปนการบูรณาการทั้งเรื่องของ ไฟฟ้า น้ำ หรือไฟ และยังทราย น้ำมัน อีกด้วย เปนการสอนที่สนุกสาน เด็กมีความสนใจมากแลควบคุมการสอน อุปกรณ์ในการสอนก็มีพอกับความต้องการ

สรุป บทความ
โดย:บรรณาธิการ Ed-Tech
      ครูสามารถที่จะบูรณาการ “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย  จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น  เพราะการศึกษาแบบ  “STEM”  เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น                      
      การบูรณาการเรื่อง “STEM” สู่การเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยจึงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ครูจัดกิจกรรมหรือสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วกำหนดปัญหาขึ้นมาให้เด็กได้ฝึกฝนการแก้ปัญหา เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้คิด ได้แสดงความสามารถที่หลากหลาย หากผลของ
การทดลองหรือการแก้ปัญหาที่เด็กค้นพบนั้น ยังไม่ถูกต้องตามที่ครูกำหนดไว้ ครูก็ควรให้เด็กได้ทดลองหรือปฏิบัติซ้ำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง โดยทั้งนี้ครูอาจแนะนำความรู้เพิ่มเติมให้แก่เด็ก เพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น  นอกจากนั้นครูยังสามารถนำ  “STEM”  มาบูรณาการ
กับทักษะในด้านอื่น ๆ ได้อีก  เช่น การจัดการศึกษาแบบ STEAM Education ที่มีการนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “
Art” เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้นๆให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
ถือเป็นวัตกรรมการสอนการบูรณาการที่มีความหมาย ทำให้เด็กได้เรียนรู้ได้หลายวิชาในเรื่องเดียวและนำไปต่อยอดได้ด้วย 

สรุปวิจัย
เรื่อง   ผลของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม
ที่มีต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาล
วิทยานิพนธ์ของ นางสาวณัฐพร สาทิสสกุล
ปีที่วิจัย 2557
วัตถุประสงค์ของการวิจัย : 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลใน 2 ด้าน ได้แก่ด้านการใช้และการรักษา หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อม 2. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลด้านการใช้ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม 3. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลด้านการดูแลรักษาก่อนและหลังการทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อม สมมุติฐาน : 1. หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อมเด็กวัยอนุบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านการใช้และการดูแลรักษาสูงกว่าร้อยละ 80 2. หลังจากการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อมเด็กวัยอนุบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านการใช้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อมเด็กวัยอนุบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านการดูแลรักษาสูงกว่าการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มตัวอย่างการสอน : เด็กอนุบาลปีที่สองที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฐมวัยเชียงใหม่ เขต1 ตัวอย่างประชากรเด็กอนุบาลปีที่ 2/3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : แบบสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลที่มีลักษณะเป็นแบบสังเกตพฤติกรรมตามสถานการณ์ที่สะท้อนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวันที่โรงเรียนโดยผู้สังเกตเด็กเป็นรายบุคคลและสังเกตพฤติกรรมตามสภาพจริงในกิจวัตรประจำวันของเด็กหรือครูไม่ไปแทรกแซงในการแสดงออกพฤติกรรมของเด็กซึ่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสองด้านได้แก่ด้านการใช้และการดูแลรักษาโดยเปิดโอกาสให้เด็กแสดงพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่โรงเรียนซึ่งแบบสังเกตมีข้อทั้งหมด 10 ข้อรวม 20 คะแนน แบบสังเกตที่มีความตรงเชิงเนื้อหามีค่าอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเที่ยง = 0.73 ระยะเวลาในการดำเนิน : 1. ระยะเวลาทั้งสิ้น 14 สัปดาห์ผู้วิจัยได้นำแบบสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลไปสังเกตตัวอย่างประชากรก่อนการทดลองเป็นรายบุคคลเป็นระยะเวลาสองสัปดาห์ ในช่วงเวลา 8.00 - 15.00 น. จากสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน 2. ทำการทดลองใช้แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อมจำนวน 40 แผ่นมีผู้วิจัยเป็นผู้สอนดำเนินการสอนเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์สัปดาห์ละสี่วัน 3. นำแบบสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลไปสังเกตตัวอย่างประชากรหลังการทดลองเป็นรายบุคคล เป็นระยะเวลาสองสัปดาห์ในช่วงเวลา 8.00 - 15.00 น. จากสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน
เกณฑ์การให้คะแนนแบบสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลด้านการใช้และการดูแลรักษา



 แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อม




ตารางคะแนนพฤติกรรมการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านการดูแลรักษาก่อนและหลังการ ทดลองของเด็กวัยอนุบาล (ก่อน - หลังการทดลอง)
ภาพกิจกรรม



Friday, november 23, 2018 
15nd record
 
➤The knowledge gaine
อาจารย์ให้ดูและศึกษาวิธีใช้ โปรแกรม biteable และมอบหมายงานให้ลองทำออกมาเป็นคลิปวิดีโอในการไปจัดกิจกรรมฐานวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จากนั้นอาจารย์ถามถึงสื่อ ในวิชานวัตกรรม ว่าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร 
ซึ่งกลุ่มของดิฉันเกี่ยวกับแม่เหล็ก 
ซึ่งเป็นวัตถุที่ดูดเหล็กได้  แม่เหล็กสามารถทำให้เกิดสนามแม่เหล็กได้ นั่นคือมันสามารถส่งแรงดูดหรือแรงผลัก ออกไปรอบ ๆ ตัวมันได้ 
และนำเสนอสื่อลงในบล็อคของตนเอง จึงถือโอกาสนี้ใช้โปรแกรม biteable ด้วย



อุปกรณ์
ไม้
ตัวละคร ฉาก ที่ทำจากกระดาษ
แม่เหล็ก
อุปกรณ์ตกแต่ง
ฝาขวด

ขันตอนการสร้างนวัตกรรม
•ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำสื่อ
•ได้เรื่องของกิจวัตรประจำวัน
•ได้นำเสนออาจารย์ เกี่ยวกับสื่อนวัตกรรมชิ้นนี้
•หาวัสดุอุปกรณ์ในการทำสื่อชิ้นนี้

1.เริ่มจากการนำไม้มาประกอบให้เข้ากัน โดยทำแบบกล่องละคร มีขา ๔ ขา
2.ทาสี เก็บรายละเอียดต่างๆให้เรียบร้อย
3.ทำตัวละครในการดำเนินเรื่องราว
4.ทำฉากที่เด็กคุ้นชิน และ ต้องพบเจอ เช่น บาน โรงเรียน
5.นำแม่เหล็กมาติดกับตัวละคร และ สิ่งที่จะทำให้ตัวละครมีการเคลื่อนไหว ติดแม่เหล็กอีกด้านไว้กับไม้
ลูกโป่งที่เชื่อมกันไว้แล้ว
6.ทดลองการเล่น และ เก็บรายละเอียดต่างๆ
ประโยชน์
นวัตกรรมชิ้นนี้เป็นสื่อจากการดัดแปลงจากของเดิม และยังเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กสนใจในเรื่องที่เราสอ
ยังทำให้เด็กได้ลงมือที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง นวัตกรรมชิ้นนี้ยังส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ สามารถ
นำนวัตกรรมนี้ไปบูรณาการสอนได้ในหลายๆวิชา เป็นสื่อในมุมต่างๆได้ด้วย
การสอนเด็กในยุคดิจิทัลเราควรรู้จักสื่อ โปรแกรม แอพพริเคชั่นให้มากเพราะเมื่อเด็กอยู่ที่บ้านเด็กก็
เล่นipad ครูจะต้องนำเทคโนโลยีต่างๆมาช่วยสอนบ้างเพื่อความน่าสนใจและแปลกใหม่กับเด็ก
➤Skills
สื่อในการสอนต่างๆมีมากรู้จักใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยในการสอนได้
➤Apply
นำโปรแกรมที่รู้จักต่างๆ สื่อจากเพื่อนที่แรกเปลี่ยนกันไปใช้สอนในอนาคตได้
➤Technique
การเลือกใช้แอพพริเคชั่น โปรแกรมต่างๆมาช่วยในการสอนเด็กสร้างความน่าตื่นเต้นและทันสมัย
Assessment 
our self:ตั้งใจเรียนและตอบคำถามได้บ้าง
Friend : เพื่อนมาน้อย แต่กตั้งใจเรียน
Teacher:อาจารย์นำแอพพริเคชั่นใหม่ๆมาสอนมาให้เล่นตลอดทำใหได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น

Friday, november 16, 2018 
14nd record
 
➤The knowledge gaine
อาจารย์ให้ส่งใบงานแผนผังความคิด และ mind map และร่วมกันพูดถึงการไปทำกิจกรรมฐานวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันเกษม และให้คำแนะนำถึงสิ่งที่ควรปรับปรุงต่างๆร่วมกันอีกด้วย
แผนผังเรื่อง เสือโคร่ง  โดยประกอบไปด้วย
วันจันทร์ ชนิดพันธ์
-เสือโคร่งเบงกลอ
-เสือโคร่งไซบีเรีย
-เสือโคร่งอิโดจีน
-เสือโคร่งมลายู
-เสือโคร่งสุมาตรา
-เสือโคร่งจีนใต้
วันอังคาร ลักษณะ 
ขนาด
-ใหญ่
-เล็ก
พื้นผิว เรียบ
สี 
-สีเหลืองมีลายสลับดำทั้งตัว
-สีขาวมีลายสลับดำทั้งตัว
วันพุธ การดำรงชีวิต
อาหาร
กินสัตว์ใหญ่
-หมุป่า 
-กวาง
-ม้าลาย
-ช้าง
สัตว์เล็ก
-นก
-ปลา
อากาศ ชอบอาณาเขตร้อน
น้ำ กินน้ำที่อุณหภุมิคงที่
ที่อยุ่
-ป่าทึบ
-ป่าดิบชื้น
ป่าหญ้าที่แห้งโล่ง
การสืบพันธ์
-ผสมพันธ์เมื่อายุ3ปี
-ตัวเมียอุ้มท้อง3เดือน
-เป้นสัตวืเลี้ยงลูกด้วยนม
-คลอดลูกครั้งละ2-7ตัว
วันพฤหัสบดี ประโยชน์
ประโยชน์
รักษาสมดุลของป่า
-คาบคุมประชากรของสัตว์กินพืชไม่ให้มีจำนวนมากเกินไป
ทำใหเกิดความสวยงาม 
 อวัยวะเพศผู้นำมาเป็นยาบำรุงกำลัง
ความเชื่อที่นำเอาอวัยวะต่างๆมาเปนเครื่องรางของขังได้
วันศุกร์ การอนุรักษ์
-ไม่ตัดไม้ทำลายป่า
-ไม่บุกรุกพื้นที่อาศัยของเสือโคร่ง
-วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลกวันที่29กรกฎาคมของทุกปี

การเขียน mind map ให้ถูกเราควรเขียนตามเข็มนาฬิกาและแตกกิ่งก้านออกไปให้เห็นชัดเจน ถึงองค์ประกอบของหัวข้อต่างๆ การนำไปใช้วางแผนการสอนได้ สรุปความรู้ออกมาเป็น mind map ได้เข้าใจง่ายกว่าการบรรยายอีกด้วย และการเขียนแผนจัดประสบการณ์มาส่ง ควรมีความละเอียดมากกว่านี้
➤Skills
การเขียนแผน สรุปความรู้ของเราควรแตกออกมาให้ได้มากเพื่อนการเชื่อมโยงหัวข้อให้เข้าใจง่าย
➤Apply
นำไปใช้ต่อยอดในการเขียนแผน นำไปใช้วางแผนการสอนได้อีกด้วย
➤Technique
การศึกษาการเขียนแผนการสอน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและชี้แนะให้ฟัง

Assessment 
our self:ตั้งใจเรียนและจดบันทึกการเรียน
Friend : เพื่อนช่วยกันตอบคำถามได้ดี
Teacher:อาจารย์อธิบายให้ฟัง ถึง mind map และแผนการสอนอย่างละเอียดไม่ปล่อยผ่าน


Friday, november 9, 2018 
13nd record
 
➤The knowledge gaine

อาจารย์ให้ดูวิดีโอ ความลับของแสง

แสง  เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่รับรู้ได้ด้วยสายตา  แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้

  การเดินทางของแสง
               แสงเดินทางจากแหล่งกำเนิดด้วยความเร็วมาก โดยเดินทางได้ 186,000  ไมล์ต่อวินาที หรือ 300,000  กิโลเมตร ต่อวินาที  แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง และเดินทางผ่านสุญญากาศได้  

ตัวกลางของแสง
 วัตถุที่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านเป็นเส้นตรงไปได้นั้น เราเรียกวัตถุนี้ว่า
 วัตถุโปร่งใส เช่น แก้ว อากาศ น้ำ  ถ้าแสงเคลื่อนที่ผ่านวัตถุบางชนิดแล้วเกิดการกระจายของแสงออกไป โดยรอบ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรง เราเรียกวัตถุนั้นว่า 
วัตถุโปร่งแสง เช่น กระจกฝ้า กระดาษไข
 ส่วนวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านไปได้ เราเรียกว่าวัตถุทึบแสง เช่น ผนังคอนกรีต กระดาษแข็งหนา วัตถุทึบแสงจะสะท้อนแสงบางส่วนและดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ทำให้เกิดเงาขึ้น
   แสงเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางอย่างเดียว จะเดินทางเป็นเส้นตรง แต่เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางอย่างหนึ่ง ไปยังตัวกลางอีกอย่างหนึ่ง ที่มีความหนาแน่นต่างกัน จะเกิดการหักเหของแสง เช่น  แสงเดินทางจากน้ำผ่านอากาศ หรือจากอากาศผ่านไปยังน้ำ จะเกิดการหักเหตรงรอยต่อ
กล้องรูเข็ม

เปรียบเสมือนกับห้องมืดซึ่งมีที่ให้แสงส่องเข้าได้เพียงที่เดียวคือที่รูรับแสง โดยภาพที่ปรากฏบนแผ่นฟิล์มไวแสงจะเป็นภาพกลับหัวของวัตถุจริง
 ความคมชัดของภาพที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสงเป็นสำคัญ หากรูรับแสงมีขนาดเล็กเท่าใดภาพที่ได้ก็จะคมชัดมากเท่านั้น ทั้งนี้ หากรูรับแสงมีขนาดเล็ก ปริมาณแสงที่ฉายเข้าสู่กล่องทึบแสงก็จะน้อย ทำให้ต้องเปิดรูรับแสงนานเพื่อแผ่นฟิล์มไวแสงมีเวลาทำการบันทึกภาพได้โดยสมบูรณ์
การสะท้อน
เมื่อเกิดการสะท้อนแสงทุกครั้งมุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อนเสมอ การสะท้อนของแสงเมื่อตกกระทบพื้นผิววัตถุที่เรียบ เกิดขึ้นเมื่อลำแสงตกกระทบไปยังพื้นกระจกหรือพื้นผิวที่ขรุขระจะส่งผลให้แสงสะท้อนกลับไปคนละทิศละทาง

กระจกเงาราบ
  เมื่อวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงาราบ  เราสามารถเห็นทั้งวัตถุและภาพของวัตถุในกระจก 
เงาราบได้   เพราะมีแสงจากวัตถุมาเข้าตา   แต่การเห็นภาพของวัตถุนั้น   เกิดจากการที่แสงจาก 
วัตถุไปตกกระทบผิวกระจกเงาราบแล้วสะท้อนกลับมาเข้าตาเรา 
ภาพที่ได้จากกระจกราบ


เมื่อตั้งกระจก2อันเข้าหากัน

กล้องสลับลาย หรือคาไลโดสโคป
รูปร่างทรงกระบอก ด้านในประกอบด้วยกระจกเงาหลายแผ่นหันหน้าเข้าหากัน ปลายด้านหนึ่งเจาะช่องไว้สำหรับมอง ปลายอีกด้านมีช่องแสงเข้าซึ่งบรรจุวัตถุต่างๆ เช่น ลูกปัด หรือเศษแก้วหลายสีเอาไว้
เมื่อนำกล้องส่องไปที่แหล่งกำเนิดแสง แสงจะผ่านวัตถุที่ใส่ไว้ และสะท้อนกระจกเงาด้านในกลับไปกลับมาหลายครั้ง เกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม โดยลวดลายจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เมื่อเขย่ากล้อง

กล้องแปริสโคปกล้องตาเรือ  คือกล้องรูปร่างแท่งสี่เหลี่ยมหรือทรงกระบอก ด้านในประกอบด้วยระจกเงาสองแผ่นติดอยู่ที่ปลายแต่ละด้านของกล้อง โดยให้ด้านเงาเอียงขนานเข้าหากัน ทำมุม 45 องศากับลำกล้อง และปลายกล้องสองด้านจะเจาะรูด้านข้างให้แสงส่องถึงด้านเงาของกระจก โดยให้ช่องที่ปลายด้านหนึ่งเป็นช่องแสงเข้า ช่องที่ปลายอีกด้านหนึ่งเป็นช่องสำหรับมองเมื่อนำไปใช้ แสงจากวัตถุจะเข้าทางช่องแสงเข้า สะท้อนกระจกบานแรกลงมาตามลำกล้อง และสะท้อนกระจกบานที่สอง เข้าสู่ตาของผู้สังเกต ทำให้ผู้สังเกตสามารถเห็นวัตถุที่อยู่สูงกว่าระดับสายตา หรือถูกสิ่งกีดขวางบังอยู่เช่นกำแพงหรือฝูงชนได้




การเกิดเงา

เมื่อแสงตกกระทบวัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านทะลุวัตถุได้จึงทำให้เกิดเงาของวัตถุ เช่น คนเป็นวัตถุทึบแสง ดังนั้นเมื่อยืนอยู่กลางแสงแดดจะเกิดเงาบนพื้นของคนที่ยืนเพราะคนกั้นทาง เดินของแสง ทำให้แสงส่องไปไม่ถึงพื้น 


รุ้ง

ปรากฎการณ์รุ้งกินน้ำ เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่หยดน้ำฝนหรือละอองน้ำทำหน้าที่ปริซึมหักเหแสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลมาจะเกิดการหักเหทำให้เกิดเป็นแถบสีบนท้องฟ้า เรียกว่าการกระจายแสง
การกระจายแสงเกิดขึ้นเพราะแสงแต่ละสีมีความถี่ไม่เท่ากัน ทำให้ดัชนีหักเหสำหรับแสงแต่ละสีไม่เท่ากัน ส่งผลให้การหักเหแสงภายในหยดน้ำแตกต่างกัน
จากนั้นอาจารย์ให้เขียนmind mapการสอนใน1สัปดาห์จะสอนเรื่องอะไรและบอกการเขียนmind mapให้ถูกต้องและมอบหมายงานกลุ่ม3-5คน ให้เลือกเรื่องจากกลุ่มมา1เรื่องและเขียนแผนพร้อมแนบmind mapส่ง
การชมวิดีโอนี้ได้ความรู้มากมายจากสิ่งที่เราอาจจะหลงลืมไปแล้ว ทำให้มีความรู้มาทบทวนอีกครั้งถ้านำไปสอนเด้กเรื่องของแสงมีความซับซ้อนต้องศึกษาเป็นอย่างดีและสิ่งสำคัญการใมช้ภาษาควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย
➤Skills
การมีองค์ความรู้สะสมไว้เพือที่จะนำไปใช้ในภายภาคหน้า

➤Apply
นำไปจัดการเรียนการสอนเรื่องของแสงได้ ไปจัดเป็นการทดลองในฐานของแสงได้อีกด้วย
➤Technique
การเตรียมการสอนให้ชัดเจนก่อนการไปสอน ทบทวนบ่อยๆ
Assessment 
our selfตั้งใจฟังและจดบันทึกการเรียนรู้เสมอ
Friend : ตั้งใจเรียน และเล่นโทรศัพท์บางครั้ง
Teacher: มีเทคนิคการสอนมากมาย ให้เราได้เก็บเกี่ยวไปใช้ได้เสมอ

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Friday, november 2, 2018 
12nd record
➤The knowledge gaine
นำเสนอคลิปวิดีโอของแต่ละกลุ่ม เพื่ออาจารย์จะได้เสนอแนะเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องแก้ไขก่อนที่จะนำไปเล่นกับเด็กได้จริง โดยอาจารย์บอกถึงคำพูดต่างๆเพื่อเด้กจะได้เข้าใจสิ่งที่เรากำลังจะสื่อ


วิดีโอฐาน น้ำนิ่งไหลลึก


สิ่งที่อาจารย์เสนอแนะให้ปรับปรุง
- ควรมีการชี้ให้เห็นแต่ละขั้นตอน
-เมื่อเริ่มการทดลองแล้ว ควรนำของที่ไม่เกี่ยวข้องออก
-ในการทอลองที่น้ำเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะอย่าพูดถึงภาชนะว่าใส่น้ำได้มากน้อยต่างกันเพราะเรื่องนั้นเป็นส่วนของคณิตศาสตร์

หลังจากนั้นได้ลงพื้นที่จริงกับเด็ก ให้เด็กได้ร่วมเรียนรู้ฐานวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจัทรเกษม




ในการลงพื้นที่จริงกับเด็กหลายคน ถึงเราจะมีมากแต่ก็เหนื่อยมากๆต้องปรับปรุงตัวเองอีกมากโดยเฉพาะเรื่องการเก็บเด็กเรายังทำได้ไม่ดีมาก ต้องเรียนรู้และทะเยอทะยานอีกมาก

➤Skills
การที่เด็กมีหลายคนอุปกรณ์ในการทดลองก็ควรจะมีลองรับหลายอย่่างอย่าให้เด้กต่อแถวนานเพราะจะเกิดการควบคุมได้ยาก
➤Apply
นำความรู้นี้ไปปรับปรุงตนเองโดยเฉพาะด้านการจัดการทดลองวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่อธิบายยากเราต้องใช้คำพูดที่เด็กจะสามารถเข้าใจและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
➤Technique
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยเฉพาะการเก็บเด็ก การตอบคำถามต่างๆเมื่อเด็กถามมาเราก็ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

Assessment 
our self:ตั้งใจจัดกิจกรรมและร่วมด้วยช่วยกันกับเพื่อนควบคุมเด็กต่างๆไดดีและสนุกมาก
Friend : เพื่อนช่วยกันได้ดีและสนุกสนานร่วมกัน ทุกคนมีความพยายามที่จะทำให้เด็กสนุกและพยายามควบคุมน้องๆให้ได้
Teacher:ในการจัดกิจกรรมต่างๆอาจารย์จะแฝงสิ่งที่ทำให้เราสอนได้จริงๆและเมื่อไปสอนแล้วต้องตอบคำถามเด็กได้และไม่อายใคร

สรุป ตัวอย่างการสอน โดย  โรงเรียนโสมาภา (นวมินทร์) การทดลองต่อวงจรไฟฟ้า การนำถ่านไฟฉายมาเป็นแหล่งกำเนิดไฟ ให้เด็กต่อสายไฟให้ครบวงจร เสี...