วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สรุป ตัวอย่างการสอน

โดย โรงเรียนโสมาภา (นวมินทร์)
การทดลองต่อวงจรไฟฟ้า
การนำถ่านไฟฉายมาเป็นแหล่งกำเนิดไฟ ให้เด็กต่อสายไฟให้ครบวงจร เสียงขั้วบวกขั้วลบให้ ครูสรุปว่าไฟฟ้าไหลครบวงจรจึงทำให้ไฟติด 
การทดลองต่อมา เป็นการทดลองแรงตึงผิว โดยวางคลิปหนีบกระดาษบนผิวน้ำ
ที่คลิปหนีบกระดาษเพราะน้ำมีแรงตึงผิว
การทดลองงูเต้นระบำ นำกระดาษที่ตัดเป็นรูปวงกลมที่ร้อยด้วยด้วยด้าย นำไปจ่อบนเทียนจุดไฟที่มีจานลอง อากาศร้อนจะเคลื่อนที่ขึ้นไปข้างบน ปรากฏการณ์นี้สามารถแสดงให้เห็นโดยการให้เด็ก ๆ ทำงูกระดาษ แล้วนำไปแขวนเหนือเครื่องทำความร้อนหรือแหล่งกำเนิดความร้อนใด ๆ ก็ได้ จะพบว่างูเริ่มเต้นระบำ
การทดลอง น้ำ ทราย น้ำมัน
-เทน้ำลงในขวดแยมประมาณ ¾ ขวด ต่อจากนั ้นใส่ ทรายหรือกรวดลงไปและคนให้เข้ากัน
-เทน้ำมันพืชจากแก้วใบเล็กลงในขวดแยม และปิดฝาขวดให้แน่น 
-เขย่าขวดหลาย ๆ ครั้ง แล้วนำไปวางบนโต๊ะ เพื่อสังเกต การเปลี่ยนแปลง  
เกิดอะไรขึ้น ทรายหรือกรวดจะตกตะกอนอย่างรวดเร็ว นำมันพืช น้ำ และฟองอากาศซึ่งเกิดจากการเขย่าจะรวมตัวกัน แต่ หลังจากนั้นไม่กี่วินาที น้ำมันพืชและน้ำจะแยกตัวออกจาก กัน โดยน้ำมันพืชสีเหลืองจะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ
***ทรายหนักกว่าน้ำทำให้จมนำแต่น้ำมันเบากว่าน้ำ จึง ลอยอยู่บนผิวน้ำได้ แต่ของเหลวทั้งสองชนิดคือ น้ำและน้ำมันไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เพราะน้ำและน้ำมันมี โครงสร้างแตกต่างกัน จึงไม่สามารถรวมเป็นเเนื้อเดียวกันได้ เมื่อเขย่าขวดที่มีน้ำและน้ำมันอยู่ น้ำมันจะแตกตัวอยู่ ในรูปทรงกลมและพยายามอยู่ด้านบน เมื่อทิ้งไว้สักครู่น้ำมันที่ แตกตัวจะจับตัวกันเหมือนเดิม
วัตถุที่มีน ้าหนักมากและมีขนาดใหญ่มาก เช่น ถัง น้ำมัน จึงสามารถลอยน้ำได้ โดยจะลอยปริ่มน้ำได้เมื่อแรงพยุง ของน้ำมีขนาดเท่ากับน้ำหนักของถัง ในทางกลับกัน ก้อนหินที่ มีขนาดเล็กกว่ามากจะจมน้ำเพราะว่าน้ำหนักของหินมากกว่า แรงพยุงของน ้า (ความหนาแน่นของหินมากกว่าความ 
หนาแน่นของน้ำนั่นเอง)
เป็นการสอนวิทยาศาสตร์มีการทดลอง4ฐาน ซึ่งเปนการบูรณาการทั้งเรื่องของ ไฟฟ้า น้ำ หรือไฟ และยังทราย น้ำมัน อีกด้วย เปนการสอนที่สนุกสาน เด็กมีความสนใจมากแลควบคุมการสอน อุปกรณ์ในการสอนก็มีพอกับความต้องการ

สรุป บทความ
โดย:บรรณาธิการ Ed-Tech
      ครูสามารถที่จะบูรณาการ “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย  จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น  เพราะการศึกษาแบบ  “STEM”  เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น                      
      การบูรณาการเรื่อง “STEM” สู่การเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยจึงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ครูจัดกิจกรรมหรือสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วกำหนดปัญหาขึ้นมาให้เด็กได้ฝึกฝนการแก้ปัญหา เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้คิด ได้แสดงความสามารถที่หลากหลาย หากผลของ
การทดลองหรือการแก้ปัญหาที่เด็กค้นพบนั้น ยังไม่ถูกต้องตามที่ครูกำหนดไว้ ครูก็ควรให้เด็กได้ทดลองหรือปฏิบัติซ้ำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง โดยทั้งนี้ครูอาจแนะนำความรู้เพิ่มเติมให้แก่เด็ก เพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น  นอกจากนั้นครูยังสามารถนำ  “STEM”  มาบูรณาการ
กับทักษะในด้านอื่น ๆ ได้อีก  เช่น การจัดการศึกษาแบบ STEAM Education ที่มีการนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “
Art” เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้นๆให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
ถือเป็นวัตกรรมการสอนการบูรณาการที่มีความหมาย ทำให้เด็กได้เรียนรู้ได้หลายวิชาในเรื่องเดียวและนำไปต่อยอดได้ด้วย 

สรุปวิจัย
เรื่อง   ผลของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม
ที่มีต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาล
วิทยานิพนธ์ของ นางสาวณัฐพร สาทิสสกุล
ปีที่วิจัย 2557
วัตถุประสงค์ของการวิจัย : 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลใน 2 ด้าน ได้แก่ด้านการใช้และการรักษา หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อม 2. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลด้านการใช้ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม 3. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลด้านการดูแลรักษาก่อนและหลังการทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อม สมมุติฐาน : 1. หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อมเด็กวัยอนุบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านการใช้และการดูแลรักษาสูงกว่าร้อยละ 80 2. หลังจากการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อมเด็กวัยอนุบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านการใช้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อมเด็กวัยอนุบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านการดูแลรักษาสูงกว่าการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มตัวอย่างการสอน : เด็กอนุบาลปีที่สองที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฐมวัยเชียงใหม่ เขต1 ตัวอย่างประชากรเด็กอนุบาลปีที่ 2/3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : แบบสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลที่มีลักษณะเป็นแบบสังเกตพฤติกรรมตามสถานการณ์ที่สะท้อนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวันที่โรงเรียนโดยผู้สังเกตเด็กเป็นรายบุคคลและสังเกตพฤติกรรมตามสภาพจริงในกิจวัตรประจำวันของเด็กหรือครูไม่ไปแทรกแซงในการแสดงออกพฤติกรรมของเด็กซึ่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสองด้านได้แก่ด้านการใช้และการดูแลรักษาโดยเปิดโอกาสให้เด็กแสดงพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่โรงเรียนซึ่งแบบสังเกตมีข้อทั้งหมด 10 ข้อรวม 20 คะแนน แบบสังเกตที่มีความตรงเชิงเนื้อหามีค่าอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเที่ยง = 0.73 ระยะเวลาในการดำเนิน : 1. ระยะเวลาทั้งสิ้น 14 สัปดาห์ผู้วิจัยได้นำแบบสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลไปสังเกตตัวอย่างประชากรก่อนการทดลองเป็นรายบุคคลเป็นระยะเวลาสองสัปดาห์ ในช่วงเวลา 8.00 - 15.00 น. จากสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน 2. ทำการทดลองใช้แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อมจำนวน 40 แผ่นมีผู้วิจัยเป็นผู้สอนดำเนินการสอนเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์สัปดาห์ละสี่วัน 3. นำแบบสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลไปสังเกตตัวอย่างประชากรหลังการทดลองเป็นรายบุคคล เป็นระยะเวลาสองสัปดาห์ในช่วงเวลา 8.00 - 15.00 น. จากสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน
เกณฑ์การให้คะแนนแบบสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลด้านการใช้และการดูแลรักษา



 แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อม




ตารางคะแนนพฤติกรรมการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านการดูแลรักษาก่อนและหลังการ ทดลองของเด็กวัยอนุบาล (ก่อน - หลังการทดลอง)
ภาพกิจกรรม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สรุป ตัวอย่างการสอน โดย  โรงเรียนโสมาภา (นวมินทร์) การทดลองต่อวงจรไฟฟ้า การนำถ่านไฟฉายมาเป็นแหล่งกำเนิดไฟ ให้เด็กต่อสายไฟให้ครบวงจร เสี...