วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สรุป ตัวอย่างการสอน

โดย โรงเรียนโสมาภา (นวมินทร์)
การทดลองต่อวงจรไฟฟ้า
การนำถ่านไฟฉายมาเป็นแหล่งกำเนิดไฟ ให้เด็กต่อสายไฟให้ครบวงจร เสียงขั้วบวกขั้วลบให้ ครูสรุปว่าไฟฟ้าไหลครบวงจรจึงทำให้ไฟติด 
การทดลองต่อมา เป็นการทดลองแรงตึงผิว โดยวางคลิปหนีบกระดาษบนผิวน้ำ
ที่คลิปหนีบกระดาษเพราะน้ำมีแรงตึงผิว
การทดลองงูเต้นระบำ นำกระดาษที่ตัดเป็นรูปวงกลมที่ร้อยด้วยด้วยด้าย นำไปจ่อบนเทียนจุดไฟที่มีจานลอง อากาศร้อนจะเคลื่อนที่ขึ้นไปข้างบน ปรากฏการณ์นี้สามารถแสดงให้เห็นโดยการให้เด็ก ๆ ทำงูกระดาษ แล้วนำไปแขวนเหนือเครื่องทำความร้อนหรือแหล่งกำเนิดความร้อนใด ๆ ก็ได้ จะพบว่างูเริ่มเต้นระบำ
การทดลอง น้ำ ทราย น้ำมัน
-เทน้ำลงในขวดแยมประมาณ ¾ ขวด ต่อจากนั ้นใส่ ทรายหรือกรวดลงไปและคนให้เข้ากัน
-เทน้ำมันพืชจากแก้วใบเล็กลงในขวดแยม และปิดฝาขวดให้แน่น 
-เขย่าขวดหลาย ๆ ครั้ง แล้วนำไปวางบนโต๊ะ เพื่อสังเกต การเปลี่ยนแปลง  
เกิดอะไรขึ้น ทรายหรือกรวดจะตกตะกอนอย่างรวดเร็ว นำมันพืช น้ำ และฟองอากาศซึ่งเกิดจากการเขย่าจะรวมตัวกัน แต่ หลังจากนั้นไม่กี่วินาที น้ำมันพืชและน้ำจะแยกตัวออกจาก กัน โดยน้ำมันพืชสีเหลืองจะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ
***ทรายหนักกว่าน้ำทำให้จมนำแต่น้ำมันเบากว่าน้ำ จึง ลอยอยู่บนผิวน้ำได้ แต่ของเหลวทั้งสองชนิดคือ น้ำและน้ำมันไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เพราะน้ำและน้ำมันมี โครงสร้างแตกต่างกัน จึงไม่สามารถรวมเป็นเเนื้อเดียวกันได้ เมื่อเขย่าขวดที่มีน้ำและน้ำมันอยู่ น้ำมันจะแตกตัวอยู่ ในรูปทรงกลมและพยายามอยู่ด้านบน เมื่อทิ้งไว้สักครู่น้ำมันที่ แตกตัวจะจับตัวกันเหมือนเดิม
วัตถุที่มีน ้าหนักมากและมีขนาดใหญ่มาก เช่น ถัง น้ำมัน จึงสามารถลอยน้ำได้ โดยจะลอยปริ่มน้ำได้เมื่อแรงพยุง ของน้ำมีขนาดเท่ากับน้ำหนักของถัง ในทางกลับกัน ก้อนหินที่ มีขนาดเล็กกว่ามากจะจมน้ำเพราะว่าน้ำหนักของหินมากกว่า แรงพยุงของน ้า (ความหนาแน่นของหินมากกว่าความ 
หนาแน่นของน้ำนั่นเอง)
เป็นการสอนวิทยาศาสตร์มีการทดลอง4ฐาน ซึ่งเปนการบูรณาการทั้งเรื่องของ ไฟฟ้า น้ำ หรือไฟ และยังทราย น้ำมัน อีกด้วย เปนการสอนที่สนุกสาน เด็กมีความสนใจมากแลควบคุมการสอน อุปกรณ์ในการสอนก็มีพอกับความต้องการ

สรุป บทความ
โดย:บรรณาธิการ Ed-Tech
      ครูสามารถที่จะบูรณาการ “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย  จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น  เพราะการศึกษาแบบ  “STEM”  เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น                      
      การบูรณาการเรื่อง “STEM” สู่การเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยจึงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ครูจัดกิจกรรมหรือสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วกำหนดปัญหาขึ้นมาให้เด็กได้ฝึกฝนการแก้ปัญหา เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้คิด ได้แสดงความสามารถที่หลากหลาย หากผลของ
การทดลองหรือการแก้ปัญหาที่เด็กค้นพบนั้น ยังไม่ถูกต้องตามที่ครูกำหนดไว้ ครูก็ควรให้เด็กได้ทดลองหรือปฏิบัติซ้ำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง โดยทั้งนี้ครูอาจแนะนำความรู้เพิ่มเติมให้แก่เด็ก เพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น  นอกจากนั้นครูยังสามารถนำ  “STEM”  มาบูรณาการ
กับทักษะในด้านอื่น ๆ ได้อีก  เช่น การจัดการศึกษาแบบ STEAM Education ที่มีการนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “
Art” เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้นๆให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
ถือเป็นวัตกรรมการสอนการบูรณาการที่มีความหมาย ทำให้เด็กได้เรียนรู้ได้หลายวิชาในเรื่องเดียวและนำไปต่อยอดได้ด้วย 

สรุปวิจัย
เรื่อง   ผลของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม
ที่มีต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาล
วิทยานิพนธ์ของ นางสาวณัฐพร สาทิสสกุล
ปีที่วิจัย 2557
วัตถุประสงค์ของการวิจัย : 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลใน 2 ด้าน ได้แก่ด้านการใช้และการรักษา หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อม 2. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลด้านการใช้ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม 3. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลด้านการดูแลรักษาก่อนและหลังการทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อม สมมุติฐาน : 1. หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อมเด็กวัยอนุบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านการใช้และการดูแลรักษาสูงกว่าร้อยละ 80 2. หลังจากการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อมเด็กวัยอนุบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านการใช้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อมเด็กวัยอนุบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านการดูแลรักษาสูงกว่าการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มตัวอย่างการสอน : เด็กอนุบาลปีที่สองที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฐมวัยเชียงใหม่ เขต1 ตัวอย่างประชากรเด็กอนุบาลปีที่ 2/3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : แบบสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลที่มีลักษณะเป็นแบบสังเกตพฤติกรรมตามสถานการณ์ที่สะท้อนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวันที่โรงเรียนโดยผู้สังเกตเด็กเป็นรายบุคคลและสังเกตพฤติกรรมตามสภาพจริงในกิจวัตรประจำวันของเด็กหรือครูไม่ไปแทรกแซงในการแสดงออกพฤติกรรมของเด็กซึ่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสองด้านได้แก่ด้านการใช้และการดูแลรักษาโดยเปิดโอกาสให้เด็กแสดงพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่โรงเรียนซึ่งแบบสังเกตมีข้อทั้งหมด 10 ข้อรวม 20 คะแนน แบบสังเกตที่มีความตรงเชิงเนื้อหามีค่าอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเที่ยง = 0.73 ระยะเวลาในการดำเนิน : 1. ระยะเวลาทั้งสิ้น 14 สัปดาห์ผู้วิจัยได้นำแบบสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลไปสังเกตตัวอย่างประชากรก่อนการทดลองเป็นรายบุคคลเป็นระยะเวลาสองสัปดาห์ ในช่วงเวลา 8.00 - 15.00 น. จากสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน 2. ทำการทดลองใช้แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อมจำนวน 40 แผ่นมีผู้วิจัยเป็นผู้สอนดำเนินการสอนเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์สัปดาห์ละสี่วัน 3. นำแบบสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลไปสังเกตตัวอย่างประชากรหลังการทดลองเป็นรายบุคคล เป็นระยะเวลาสองสัปดาห์ในช่วงเวลา 8.00 - 15.00 น. จากสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน
เกณฑ์การให้คะแนนแบบสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กวัยอนุบาลด้านการใช้และการดูแลรักษา



 แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อม




ตารางคะแนนพฤติกรรมการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านการดูแลรักษาก่อนและหลังการ ทดลองของเด็กวัยอนุบาล (ก่อน - หลังการทดลอง)
ภาพกิจกรรม



Friday, november 23, 2018 
15nd record
 
➤The knowledge gaine
อาจารย์ให้ดูและศึกษาวิธีใช้ โปรแกรม biteable และมอบหมายงานให้ลองทำออกมาเป็นคลิปวิดีโอในการไปจัดกิจกรรมฐานวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จากนั้นอาจารย์ถามถึงสื่อ ในวิชานวัตกรรม ว่าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร 
ซึ่งกลุ่มของดิฉันเกี่ยวกับแม่เหล็ก 
ซึ่งเป็นวัตถุที่ดูดเหล็กได้  แม่เหล็กสามารถทำให้เกิดสนามแม่เหล็กได้ นั่นคือมันสามารถส่งแรงดูดหรือแรงผลัก ออกไปรอบ ๆ ตัวมันได้ 
และนำเสนอสื่อลงในบล็อคของตนเอง จึงถือโอกาสนี้ใช้โปรแกรม biteable ด้วย



อุปกรณ์
ไม้
ตัวละคร ฉาก ที่ทำจากกระดาษ
แม่เหล็ก
อุปกรณ์ตกแต่ง
ฝาขวด

ขันตอนการสร้างนวัตกรรม
•ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำสื่อ
•ได้เรื่องของกิจวัตรประจำวัน
•ได้นำเสนออาจารย์ เกี่ยวกับสื่อนวัตกรรมชิ้นนี้
•หาวัสดุอุปกรณ์ในการทำสื่อชิ้นนี้

1.เริ่มจากการนำไม้มาประกอบให้เข้ากัน โดยทำแบบกล่องละคร มีขา ๔ ขา
2.ทาสี เก็บรายละเอียดต่างๆให้เรียบร้อย
3.ทำตัวละครในการดำเนินเรื่องราว
4.ทำฉากที่เด็กคุ้นชิน และ ต้องพบเจอ เช่น บาน โรงเรียน
5.นำแม่เหล็กมาติดกับตัวละคร และ สิ่งที่จะทำให้ตัวละครมีการเคลื่อนไหว ติดแม่เหล็กอีกด้านไว้กับไม้
ลูกโป่งที่เชื่อมกันไว้แล้ว
6.ทดลองการเล่น และ เก็บรายละเอียดต่างๆ
ประโยชน์
นวัตกรรมชิ้นนี้เป็นสื่อจากการดัดแปลงจากของเดิม และยังเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กสนใจในเรื่องที่เราสอ
ยังทำให้เด็กได้ลงมือที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง นวัตกรรมชิ้นนี้ยังส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ สามารถ
นำนวัตกรรมนี้ไปบูรณาการสอนได้ในหลายๆวิชา เป็นสื่อในมุมต่างๆได้ด้วย
การสอนเด็กในยุคดิจิทัลเราควรรู้จักสื่อ โปรแกรม แอพพริเคชั่นให้มากเพราะเมื่อเด็กอยู่ที่บ้านเด็กก็
เล่นipad ครูจะต้องนำเทคโนโลยีต่างๆมาช่วยสอนบ้างเพื่อความน่าสนใจและแปลกใหม่กับเด็ก
➤Skills
สื่อในการสอนต่างๆมีมากรู้จักใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยในการสอนได้
➤Apply
นำโปรแกรมที่รู้จักต่างๆ สื่อจากเพื่อนที่แรกเปลี่ยนกันไปใช้สอนในอนาคตได้
➤Technique
การเลือกใช้แอพพริเคชั่น โปรแกรมต่างๆมาช่วยในการสอนเด็กสร้างความน่าตื่นเต้นและทันสมัย
Assessment 
our self:ตั้งใจเรียนและตอบคำถามได้บ้าง
Friend : เพื่อนมาน้อย แต่กตั้งใจเรียน
Teacher:อาจารย์นำแอพพริเคชั่นใหม่ๆมาสอนมาให้เล่นตลอดทำใหได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น

Friday, november 16, 2018 
14nd record
 
➤The knowledge gaine
อาจารย์ให้ส่งใบงานแผนผังความคิด และ mind map และร่วมกันพูดถึงการไปทำกิจกรรมฐานวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันเกษม และให้คำแนะนำถึงสิ่งที่ควรปรับปรุงต่างๆร่วมกันอีกด้วย
แผนผังเรื่อง เสือโคร่ง  โดยประกอบไปด้วย
วันจันทร์ ชนิดพันธ์
-เสือโคร่งเบงกลอ
-เสือโคร่งไซบีเรีย
-เสือโคร่งอิโดจีน
-เสือโคร่งมลายู
-เสือโคร่งสุมาตรา
-เสือโคร่งจีนใต้
วันอังคาร ลักษณะ 
ขนาด
-ใหญ่
-เล็ก
พื้นผิว เรียบ
สี 
-สีเหลืองมีลายสลับดำทั้งตัว
-สีขาวมีลายสลับดำทั้งตัว
วันพุธ การดำรงชีวิต
อาหาร
กินสัตว์ใหญ่
-หมุป่า 
-กวาง
-ม้าลาย
-ช้าง
สัตว์เล็ก
-นก
-ปลา
อากาศ ชอบอาณาเขตร้อน
น้ำ กินน้ำที่อุณหภุมิคงที่
ที่อยุ่
-ป่าทึบ
-ป่าดิบชื้น
ป่าหญ้าที่แห้งโล่ง
การสืบพันธ์
-ผสมพันธ์เมื่อายุ3ปี
-ตัวเมียอุ้มท้อง3เดือน
-เป้นสัตวืเลี้ยงลูกด้วยนม
-คลอดลูกครั้งละ2-7ตัว
วันพฤหัสบดี ประโยชน์
ประโยชน์
รักษาสมดุลของป่า
-คาบคุมประชากรของสัตว์กินพืชไม่ให้มีจำนวนมากเกินไป
ทำใหเกิดความสวยงาม 
 อวัยวะเพศผู้นำมาเป็นยาบำรุงกำลัง
ความเชื่อที่นำเอาอวัยวะต่างๆมาเปนเครื่องรางของขังได้
วันศุกร์ การอนุรักษ์
-ไม่ตัดไม้ทำลายป่า
-ไม่บุกรุกพื้นที่อาศัยของเสือโคร่ง
-วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลกวันที่29กรกฎาคมของทุกปี

การเขียน mind map ให้ถูกเราควรเขียนตามเข็มนาฬิกาและแตกกิ่งก้านออกไปให้เห็นชัดเจน ถึงองค์ประกอบของหัวข้อต่างๆ การนำไปใช้วางแผนการสอนได้ สรุปความรู้ออกมาเป็น mind map ได้เข้าใจง่ายกว่าการบรรยายอีกด้วย และการเขียนแผนจัดประสบการณ์มาส่ง ควรมีความละเอียดมากกว่านี้
➤Skills
การเขียนแผน สรุปความรู้ของเราควรแตกออกมาให้ได้มากเพื่อนการเชื่อมโยงหัวข้อให้เข้าใจง่าย
➤Apply
นำไปใช้ต่อยอดในการเขียนแผน นำไปใช้วางแผนการสอนได้อีกด้วย
➤Technique
การศึกษาการเขียนแผนการสอน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและชี้แนะให้ฟัง

Assessment 
our self:ตั้งใจเรียนและจดบันทึกการเรียน
Friend : เพื่อนช่วยกันตอบคำถามได้ดี
Teacher:อาจารย์อธิบายให้ฟัง ถึง mind map และแผนการสอนอย่างละเอียดไม่ปล่อยผ่าน


Friday, november 9, 2018 
13nd record
 
➤The knowledge gaine

อาจารย์ให้ดูวิดีโอ ความลับของแสง

แสง  เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่รับรู้ได้ด้วยสายตา  แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้

  การเดินทางของแสง
               แสงเดินทางจากแหล่งกำเนิดด้วยความเร็วมาก โดยเดินทางได้ 186,000  ไมล์ต่อวินาที หรือ 300,000  กิโลเมตร ต่อวินาที  แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง และเดินทางผ่านสุญญากาศได้  

ตัวกลางของแสง
 วัตถุที่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านเป็นเส้นตรงไปได้นั้น เราเรียกวัตถุนี้ว่า
 วัตถุโปร่งใส เช่น แก้ว อากาศ น้ำ  ถ้าแสงเคลื่อนที่ผ่านวัตถุบางชนิดแล้วเกิดการกระจายของแสงออกไป โดยรอบ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรง เราเรียกวัตถุนั้นว่า 
วัตถุโปร่งแสง เช่น กระจกฝ้า กระดาษไข
 ส่วนวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านไปได้ เราเรียกว่าวัตถุทึบแสง เช่น ผนังคอนกรีต กระดาษแข็งหนา วัตถุทึบแสงจะสะท้อนแสงบางส่วนและดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ทำให้เกิดเงาขึ้น
   แสงเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางอย่างเดียว จะเดินทางเป็นเส้นตรง แต่เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางอย่างหนึ่ง ไปยังตัวกลางอีกอย่างหนึ่ง ที่มีความหนาแน่นต่างกัน จะเกิดการหักเหของแสง เช่น  แสงเดินทางจากน้ำผ่านอากาศ หรือจากอากาศผ่านไปยังน้ำ จะเกิดการหักเหตรงรอยต่อ
กล้องรูเข็ม

เปรียบเสมือนกับห้องมืดซึ่งมีที่ให้แสงส่องเข้าได้เพียงที่เดียวคือที่รูรับแสง โดยภาพที่ปรากฏบนแผ่นฟิล์มไวแสงจะเป็นภาพกลับหัวของวัตถุจริง
 ความคมชัดของภาพที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสงเป็นสำคัญ หากรูรับแสงมีขนาดเล็กเท่าใดภาพที่ได้ก็จะคมชัดมากเท่านั้น ทั้งนี้ หากรูรับแสงมีขนาดเล็ก ปริมาณแสงที่ฉายเข้าสู่กล่องทึบแสงก็จะน้อย ทำให้ต้องเปิดรูรับแสงนานเพื่อแผ่นฟิล์มไวแสงมีเวลาทำการบันทึกภาพได้โดยสมบูรณ์
การสะท้อน
เมื่อเกิดการสะท้อนแสงทุกครั้งมุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อนเสมอ การสะท้อนของแสงเมื่อตกกระทบพื้นผิววัตถุที่เรียบ เกิดขึ้นเมื่อลำแสงตกกระทบไปยังพื้นกระจกหรือพื้นผิวที่ขรุขระจะส่งผลให้แสงสะท้อนกลับไปคนละทิศละทาง

กระจกเงาราบ
  เมื่อวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงาราบ  เราสามารถเห็นทั้งวัตถุและภาพของวัตถุในกระจก 
เงาราบได้   เพราะมีแสงจากวัตถุมาเข้าตา   แต่การเห็นภาพของวัตถุนั้น   เกิดจากการที่แสงจาก 
วัตถุไปตกกระทบผิวกระจกเงาราบแล้วสะท้อนกลับมาเข้าตาเรา 
ภาพที่ได้จากกระจกราบ


เมื่อตั้งกระจก2อันเข้าหากัน

กล้องสลับลาย หรือคาไลโดสโคป
รูปร่างทรงกระบอก ด้านในประกอบด้วยกระจกเงาหลายแผ่นหันหน้าเข้าหากัน ปลายด้านหนึ่งเจาะช่องไว้สำหรับมอง ปลายอีกด้านมีช่องแสงเข้าซึ่งบรรจุวัตถุต่างๆ เช่น ลูกปัด หรือเศษแก้วหลายสีเอาไว้
เมื่อนำกล้องส่องไปที่แหล่งกำเนิดแสง แสงจะผ่านวัตถุที่ใส่ไว้ และสะท้อนกระจกเงาด้านในกลับไปกลับมาหลายครั้ง เกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม โดยลวดลายจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เมื่อเขย่ากล้อง

กล้องแปริสโคปกล้องตาเรือ  คือกล้องรูปร่างแท่งสี่เหลี่ยมหรือทรงกระบอก ด้านในประกอบด้วยระจกเงาสองแผ่นติดอยู่ที่ปลายแต่ละด้านของกล้อง โดยให้ด้านเงาเอียงขนานเข้าหากัน ทำมุม 45 องศากับลำกล้อง และปลายกล้องสองด้านจะเจาะรูด้านข้างให้แสงส่องถึงด้านเงาของกระจก โดยให้ช่องที่ปลายด้านหนึ่งเป็นช่องแสงเข้า ช่องที่ปลายอีกด้านหนึ่งเป็นช่องสำหรับมองเมื่อนำไปใช้ แสงจากวัตถุจะเข้าทางช่องแสงเข้า สะท้อนกระจกบานแรกลงมาตามลำกล้อง และสะท้อนกระจกบานที่สอง เข้าสู่ตาของผู้สังเกต ทำให้ผู้สังเกตสามารถเห็นวัตถุที่อยู่สูงกว่าระดับสายตา หรือถูกสิ่งกีดขวางบังอยู่เช่นกำแพงหรือฝูงชนได้




การเกิดเงา

เมื่อแสงตกกระทบวัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านทะลุวัตถุได้จึงทำให้เกิดเงาของวัตถุ เช่น คนเป็นวัตถุทึบแสง ดังนั้นเมื่อยืนอยู่กลางแสงแดดจะเกิดเงาบนพื้นของคนที่ยืนเพราะคนกั้นทาง เดินของแสง ทำให้แสงส่องไปไม่ถึงพื้น 


รุ้ง

ปรากฎการณ์รุ้งกินน้ำ เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่หยดน้ำฝนหรือละอองน้ำทำหน้าที่ปริซึมหักเหแสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลมาจะเกิดการหักเหทำให้เกิดเป็นแถบสีบนท้องฟ้า เรียกว่าการกระจายแสง
การกระจายแสงเกิดขึ้นเพราะแสงแต่ละสีมีความถี่ไม่เท่ากัน ทำให้ดัชนีหักเหสำหรับแสงแต่ละสีไม่เท่ากัน ส่งผลให้การหักเหแสงภายในหยดน้ำแตกต่างกัน
จากนั้นอาจารย์ให้เขียนmind mapการสอนใน1สัปดาห์จะสอนเรื่องอะไรและบอกการเขียนmind mapให้ถูกต้องและมอบหมายงานกลุ่ม3-5คน ให้เลือกเรื่องจากกลุ่มมา1เรื่องและเขียนแผนพร้อมแนบmind mapส่ง
การชมวิดีโอนี้ได้ความรู้มากมายจากสิ่งที่เราอาจจะหลงลืมไปแล้ว ทำให้มีความรู้มาทบทวนอีกครั้งถ้านำไปสอนเด้กเรื่องของแสงมีความซับซ้อนต้องศึกษาเป็นอย่างดีและสิ่งสำคัญการใมช้ภาษาควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย
➤Skills
การมีองค์ความรู้สะสมไว้เพือที่จะนำไปใช้ในภายภาคหน้า

➤Apply
นำไปจัดการเรียนการสอนเรื่องของแสงได้ ไปจัดเป็นการทดลองในฐานของแสงได้อีกด้วย
➤Technique
การเตรียมการสอนให้ชัดเจนก่อนการไปสอน ทบทวนบ่อยๆ
Assessment 
our selfตั้งใจฟังและจดบันทึกการเรียนรู้เสมอ
Friend : ตั้งใจเรียน และเล่นโทรศัพท์บางครั้ง
Teacher: มีเทคนิคการสอนมากมาย ให้เราได้เก็บเกี่ยวไปใช้ได้เสมอ

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Friday, november 2, 2018 
12nd record
➤The knowledge gaine
นำเสนอคลิปวิดีโอของแต่ละกลุ่ม เพื่ออาจารย์จะได้เสนอแนะเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องแก้ไขก่อนที่จะนำไปเล่นกับเด็กได้จริง โดยอาจารย์บอกถึงคำพูดต่างๆเพื่อเด้กจะได้เข้าใจสิ่งที่เรากำลังจะสื่อ


วิดีโอฐาน น้ำนิ่งไหลลึก


สิ่งที่อาจารย์เสนอแนะให้ปรับปรุง
- ควรมีการชี้ให้เห็นแต่ละขั้นตอน
-เมื่อเริ่มการทดลองแล้ว ควรนำของที่ไม่เกี่ยวข้องออก
-ในการทอลองที่น้ำเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะอย่าพูดถึงภาชนะว่าใส่น้ำได้มากน้อยต่างกันเพราะเรื่องนั้นเป็นส่วนของคณิตศาสตร์

หลังจากนั้นได้ลงพื้นที่จริงกับเด็ก ให้เด็กได้ร่วมเรียนรู้ฐานวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจัทรเกษม




ในการลงพื้นที่จริงกับเด็กหลายคน ถึงเราจะมีมากแต่ก็เหนื่อยมากๆต้องปรับปรุงตัวเองอีกมากโดยเฉพาะเรื่องการเก็บเด็กเรายังทำได้ไม่ดีมาก ต้องเรียนรู้และทะเยอทะยานอีกมาก

➤Skills
การที่เด็กมีหลายคนอุปกรณ์ในการทดลองก็ควรจะมีลองรับหลายอย่่างอย่าให้เด้กต่อแถวนานเพราะจะเกิดการควบคุมได้ยาก
➤Apply
นำความรู้นี้ไปปรับปรุงตนเองโดยเฉพาะด้านการจัดการทดลองวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่อธิบายยากเราต้องใช้คำพูดที่เด็กจะสามารถเข้าใจและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
➤Technique
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยเฉพาะการเก็บเด็ก การตอบคำถามต่างๆเมื่อเด็กถามมาเราก็ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

Assessment 
our self:ตั้งใจจัดกิจกรรมและร่วมด้วยช่วยกันกับเพื่อนควบคุมเด็กต่างๆไดดีและสนุกมาก
Friend : เพื่อนช่วยกันได้ดีและสนุกสนานร่วมกัน ทุกคนมีความพยายามที่จะทำให้เด็กสนุกและพยายามควบคุมน้องๆให้ได้
Teacher:ในการจัดกิจกรรมต่างๆอาจารย์จะแฝงสิ่งที่ทำให้เราสอนได้จริงๆและเมื่อไปสอนแล้วต้องตอบคำถามเด็กได้และไม่อายใคร

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Friday, october 26, 2018 
11nd record

➤The knowledge gained

เพื่อนนำเสนอการทดลอง อาจารย์แนะนำเพิ่มเติมในรายละเอียดต่างๆ
นางสาวปรางทอง สุริวงษ์ ทดลองเรื่อง เปิดปิดสวิซมีหน้าที่อะไร
ประเด็นปัญหา อะไรบ้างที่ทำให้ไฟติด
คำถามกระตุ้นให้เด็กตั้งสมมติฐาน ถ้าเอาลวดมาเชื่อมกับวงจรไฟฟ้าจะเกิดอะไรขึ้น?
การทดลอง ต่อสายไฟกับถ่านให้ครบวงจร จากนั้นถ้านำกระดาษลูกฟูกมาต่อจะไม่เกิดไฟเพราะไม่นำไฟฟ้าเรียกว่าอโลหะ
สรุป ไฟจะติดก็ต่อเมื่อต่อวงจรครบ ถ้าอุปกรณืที่นำมาต่อไม่นำไฟฟ้าไฟก็จะไม่ติด
นางสาวบงกชกมล ยังโยมร เรื่อง เมล็ดพืชเต้นระบำ
ประเด็นปัญหา จะทำยังไงให้ถั่วเขียวลอยขึ้นมา?
คำถามกระตุ้นให้เด็กตั้งสมมติฐาน  ถ้านำถั่วเขียวใส่ในน้ำเปล่าจะเกิดอะไรขึ้น?
                                                       ถ้าเทน้ำโซดาในถั่วเขียวจะเกิดอะไรขึ้น?
ทดลอง ใส่ถั่วเขียวในน้ำเปล่าถั่วเขียวจม จากนั้นใส่น้ำโซดาลงไปถั่วเขียวลอย
สรุป เพราะน้ำโซดามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จึงทำให้ถั่วเขียวลอยขึ้นมา
นางสาวมารีน่า ดาโร๊ซ เรื่องคาร์บอนไดออกไซด์
ประเด็นปัญหา เราจะทำให้ไฟดับได้อย่างไร
คำถามกระตุ้นให้เด็กตั้งสมมติฐาน ถ้าเอาแก้วครอบเทียนจะเกิดอะไรขึ้น
ทดลอง เอาแก้วครอบเทียนไฟดับ
สรุป เพราะเมื่อเราเอาแก้วไปครอบ กากาศข้างในคือออกซิเจนหมดไป ไฟจึงดับ
นางสาวสุภาพร วัดจัง เรื่อง ไฟฟ้าสถิต
ประเด็นปัญหา จำทำยังไงได้บ้างที่จะหยิบกระดาษขึ้นมา
คำถามกระตุ้นให้เด็กตั้งสมมติฐาน ถ้าเอาลูกโป่งถูกับเส้นผมเอาไปจ่อกับกระดาษจะเกิดอะไรขึ้น
การทดลอง เอาลูกโป่งถูกับเส้นผมเอาไปจ่อกับกระดาษกระดาษติดขึ้นมา ที่ทำให้กระดาษติดกับ
ลูกโป่งเขาเรียกไฟฟ้าสถิต
นาวสาวอุไรพร พวกดี เรื่อง ก๊าซคาร์บอนไอออกไซด์ช่วยไฟดับ
ประเด็นปัญหา ถ้าเอาอุปกรณ์ทั้งหมดมาทดลองจะเกิดอะไรขึ้น
คำถามกระตุ้นให้เด็กตั้งสมมติฐาน ถ้าเอาน้ำมะนาวใส่เบกิ้งโซดาจะเกิดอะไรขึ้น?
การทดลอง เอาน้ำมะนาวใส่เบกิ้งโซดาฟดับ
สรุป ไฟดับเพราะน้ำมะนาวทำปฏิกิริยากับเบกิ้งโซดาทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เรียกว่าควัน
นางสาวณัฐชา บุญทอง เรื่อง นำหรือไม่นำไฟฟ้า
ประเด็นปัญหา กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอะไรได้บ้าง
คำถามกระตุ้นให้เด็กตั้งสมมติฐาน ถ้าครูนำวัตถุต่างๆมาต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าจะเกิดอะไรขึ้น?
การทดลอง คลิปหนีบกระดาษ ช้อน ตัวหนีบ ทำให้ไฟฟ้าติด ยางลบไม่ทำให้ไฟฟ้าติด
สรุป วัตถุที่ติดไฟทำใหไฟฟ้าไหลผ่านไดจึงนำไฟฟาได้ ส่วนตัวที่ไฟไม่ติดไม่นำไฟฟ้าทำให้ไฟฟ้าไหล ผ่านไม่ได้
นางสาวสุจินณา พาพันธ์ เรื่อง การหักเหน้ำ
ประเด็นปัญหา เราจทำให้สายน้ำหักเหอย่างไรได้บ้าง?
คำถามกระตุ้นให้เด็กตั้งสมมติฐาน ถ้าใช้ผาขนสัตว์ถูกับช้อนพลาสติกแล้วไปจ่อกับสายน้ำจะเกิดอะไรขึ้น?
การทดลอง ใช้ผาขนสัตว์ถูกับช้อนพลาสติกแล้วไปจ่อกับสายน้ำทำให้สายน้ำหักเห
สรุป  เพราะเกิดไฟฟ้าสถิตจึงทำให้สายน้ำหักเห
นางสาวสิริวดี นุเรศรำ เรื่องแสงเลี้ยวเบน
ประเด็นปัญหา อะไรบ้างที่ทำใหแสงเลี้ยวเบน?
คำถามกระตุ้นให้เด็กตั้งสมมติฐาน ถ้านำแก้ววางทับบนเหรียญแล้วเทนำใส่ในแก้วจะเกิดอะไรขึ้น?
การทดลอง นำแก้ววางทับบนเหรียญแล้วเทนำใส่ในแก้วจากนั้นใส่หลอดเข้าไป ทำให้มองเห็นหลอด ขาด และมองไม่เห็นเหรียญข้างล่าง
สรุป แสงเดินทางผ่านวัตถุที่มีความหนาแน่นต่างกนจึงมองไม่เห้นเหรียญและหลอดขาด
นางสาวสุภาวดี ปานสุวรรณ เรื่อง การเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ประเด็นปัญหา ถ้านำน้ำเทใส่ในสารที่อยู่ในแก้วแต่ละใบจะเกิดอะไรขึ้น?
การทดลอง นำน้ำเทใส่ในสารที่อยู่ในแก้วแต่ละใบเกิดฟองขึ้นทุกใบ
สรุป เพราะสารทุกอย่างมีส่วนผสมของเบกิ้งโซดา การเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดจากน้ำหรือน้ำมะนาวทำปฏิกิริยากับเบกิ้งโซดา
นางสาวสุพรรณิกา สุขเจริญ เรื่องลมอ่อนๆพัดผ่านห้อง
ประเด็นปัญหา มีอะไรบ้างที่ทำใหลูกโป่งเคลื่อนที่ได้
คำถามกระตุ้นให้เด็กตั้งสมมติฐาน ถ้าตบกล่องโดยหันด้านที่มีช่องเจาะไปทางลูกโป่งจะเกิดอะไรขึ้น?
การทดลอง ตบกล่องโดยหันด้านที่มีช่องเจาะไปทางลูกโป่ง ทำให้ลูกโป่งเคลื่อนที่
สรุป อากาศที่อยู่ในกล่องออกไปทางช่องที่เจาะรู มีแรงดันทำให้ลูกโ่ป่งเคลื่อนที่
นางสาวชานิศา หุ้ยหั่น เรื่องก๊าซกักเก็บน้ำไว้ได้
ประเด็นปัญหา  ทำยังไงให้น้ำไม่หก?
คำถามกระตุ้นให้เด็กตั้งสมมติฐาน ถ้าเอากระดาษปิดและคว่ำแก้วที่มีน้ำจะเกิดอะไรขึ้น
การทดลอง เอากระดาษปิดและคว่ำแก้วที่มีน้ำทำให้นำไม่หก
สรุป อากาศดันกระดาษไว้ทำใหน้ำไม่หก
          การทดลองของเพื่อนแต่ละคน เป็นการทดลองล้วนให้เด็กใช้ทักษะการสังเกต สามารถนำไปสอนได้ ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความหมายและลงมือทดลองหาข้อเท็จจริง เด็กตอบคำถามต่างๆกับตัวเองในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

➤Skills
การใช้คำถามเพื่อให้เด็กเป็นคนตั้งสมมติฐานต้องแม่นและตรงประเด็นเข้าใจง่ายใช้ภาษาให้สอดคลองกับการทดลองที่จะทดลอง ต้องมีเทคนิคในการใช้คำถามเข้ามามีส่วนช่วยในการจัดการเรียนรู้
➤Apply
นำความรู้ไปจัดตั้งสมมติฐานที่ตรงปรเด็กแปละใหเด็กเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องแลเกิดความหมาย
➤Technique
เทคนิคการใช้คำถามเพื่อเชื่อมโยงชีวิตประจำวัน คำไหนที่เป้นศัพท์ยากที่เด็กจะไม่ค่อยเข้าใจให้ใช้การให้เด็กพูดตามคุณครู เกิดเป็นความรู้ใหม่
Assessment 
our selfตั้งใจฟังแลช่วยเพิ่มเติมขอแนะนำร่วมกันกับเพื่อน
Friend : ช่วยกันตอบคำถามได้ดี 
Teacher:เชื่อมโยงเนื้อหาได้เห็นภาพมากขึ้น และสอดแทรกเทคนิคให้จดจำเสมอ

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Friday, october 19, 2018 
10nd record

➤The knowledge gained


อาจารย์มอบหมายงานโครงการ จับกลุ่ม ทำฐานวิทยาศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม กลุ่มของดิฉัน ทำฐานเกี่ยวกับน้ำ ชื่อฐาน น้ำนิ่งไหลลึก 




วัตถุประสงค์
1.บอกคุณสมบัติของน้ำ
2.บอกได้ว่าน้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต
3.ได้ลงมือทดลองร่วมกับครู
4.ได้รับความสนุกสนานปฎิสัมพันธ์กับเพื่อน
5.เด็กมีการสังเกตและคิดในสิ่งที่พบเห็น
6.เด็กได้เรียนรู้และสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
7.ได้คิดวิเคราะห์ในการทำการทดลอง
ข้อความรู้
 น้ำมีเป็นของเหลวชนิดหนึ่งที่มีอยู่มากบนโลก เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำลงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทุกชนิดที่มนุษย์รู้จัก เราสามารถพบน้ำได้หลายสถานที่เช่น ทะเล แม่น้ำ หนอง คลอง บึง 
ประเด็นที่อยากรู้
น้ำมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
สมมติฐาน
-ถ้าเทน้ำใส่ในแก้วจะเกิดอะไรขึ้น
-ถ้าเทน้ำใส่ในภาชนะต่างกันจะเกิดอะไรขึ้น
-ถ้าวางวัตถุลงบนผิวน้ำจะเกิดอะไรขึ้น
-ถ้านำผักผลไม้มาบีบจะเกิดอะไรขึ้น
สื่อ อุปกรณ์
1.น้ำ
2.แก้วทรงต่างๆ
3.สีผสมอาหาร
4.คลิปหนีบกระดาษ
5.น้ำยาล้างจาน
6.ผลไม้และผัก
ขั้นตอน
1.เทน้ำจากแก้วใบแลกใส่ใบที่2สลับไปมา
2.เทน้ำใส่ในภาชนะที่มีรูปร่างต่างกัน
3.เทน้ำเต็มแก้วจากนั้นวางคลิปหนีบกระดาษวางบนผิวน้ำ 
4.จากนั้นหยดน้ำยาล้างจานลงบนผิวน้ำ สังเกตการเปลี่ยนแปลง
5.จากนั้นนำผักผลไม้มาบีบ
สรุปผลการทดลอง
-เทน้ำสลับไปมา ที่น้ำไหลเพราะน้ำเป็นของเหลว
-น้ำเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะที่ใส่
-วางไว้ถุบนผิวน้ำที่ไม่จมเพราะน้ำมีแรงตึงผิว
-บีบผักผลไม้มีน้ำออกมาเพราะน้ำเป้นส่วนประกำอบของสิ่งมีชีวิต

ในการทำฐานการทดลองเรื่องนั้นๆ ต้องศึกษาลายละเอียดเป็นอย่างดี และอาจารย์คอยแนะนำในทุกๆเรื่องไม่ปล่อยผ่าน ทำให้เรารู้สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขได้ตรงจุด
➤Skills
การจัดฐานกิจกรรม หรือโครงการต่างๆ ใช้คำถามเพื่อให้เด็กเป็นคนตั้งสมมติฐานจากนั้นเข้าสู่การทดลองและใช้ภาษาอย่างง่ายที่เด็กจะเข้าใจเชื่อมโยงในชีวิตประจำวัน
➤Apply
นำองค์ความรู้ไปจัดกิจกรรมหรือฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในอนาคต
Assessment 
our selfตั้งใจเรียน และตอบคำถามได้
Friend : ช่วยกันตอบคำถาม
Teacher:แนะนำการใช้คำง่ายๆและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันใหเด็กเข้าใจมากขึ้น

สรุป ตัวอย่างการสอน โดย  โรงเรียนโสมาภา (นวมินทร์) การทดลองต่อวงจรไฟฟ้า การนำถ่านไฟฉายมาเป็นแหล่งกำเนิดไฟ ให้เด็กต่อสายไฟให้ครบวงจร เสี...